ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากหลายด้าน ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อที่กดดันค่าครองชีพของประชาชน นอกจากนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น
จากความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปารีส แฟนกีฬาทั่วโลกยังคงจดจำบรรยากาศและความประทับใจของมหกรรมกีฬาครั้งนี้ ด้วยบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์ การแสดงที่ตราตรึงใจ เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และกลยุทธ์การตลาดที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างการรับรู้และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศเจ้าภาพเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงการพัฒนาการจัดงานของกีฬาโอลิมปิกที่ก้าวสู่ยุคใหม่
Paris Olympics 2024 ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันกีฬา แต่ยังเป็นเวทีที่สามารถใช้โอกาสนี้แสดงอัตลักษณ์ ผ่านสัญลักษณ์ และการออกแบบต่าง ๆ เช่น โลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา ที่ล้วนสื่อถึง เสรีภาพ และการเปิดรับความหลากหลาย ซึ่งสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นให้แก่การจัดงาน ตลอดจนเป็นการนำเสนอภาพลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสสู่สายตานักเดินทาง และผู้เข้าร่วมงานทั่วโลก
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ จากความต้องการชิปที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่มีความเปราะบาง ส่งผลให้เกิดภาวะความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน การกระจายความเสี่ยงฐานการผลิตสู่ภูมิภาคเอเชียจึงเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้มีโอกาสก้าวเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
สงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนส่งผลกระทบอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ซึ่งทางสหรัฐอเมริกาต่างเร่งหาแนวทางกระจายความเสี่ยง กระจายการลงทุน รวมถึงการสร้างเสถียรภาพให้กับห่วงโซ่อุปทาน สถานการณ์ดังกล่าวสร้างโอกาสให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ในการดึงดูดการลงทุนด้านการผลิตและพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เพื่อพัฒนาสู่การเป็นฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญของอาเซียน
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัย ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก กำลังกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในการผลิตและออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้มีบทบาทอย่างยิ่งในห่วงโซ่อุปทานและเศรษฐกิจโลก
ในยุคโลกาภิวัตน์ของการค้าระหว่างประเทศ (Trade Globalization) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเด็นของสงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนที่ยืดเยื้อมาหลายปี กลับส่งผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจโลก ทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงิน ราคาสินค้าที่สูงขึ้น เกิดภาวะขาดแคลนสินค้า ตลอดจนทำให้ต้นทุนการจัดงานไมซ์เพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2567 รัฐบาลไทยมีวิสัยทัศน์ และได้ออกแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการจัดแสดงและการแข่งขันกีฬาระดับโลก โดยหนึ่งในกีฬาที่รัฐบาลไทยต้องการดึงเข้ามาจัดงานในประเทศไทยคือ การแข่งขันฟอร์มูล่าวัน (Formula One: F1) ซึ่งเป็นการแข่งขันรถที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เปรียบเสมือน “โอลิมปิกของวงการรถแข่ง” เนื่องจากสามารถดึงดูดนักเดินทางที่ชื่นชอบการแข่งขันรถได้จากทั่วทุกมุมโลก และก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกแก่เศรษฐกิจไทย พร้อมกับส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อการจัดงานระดับนานาชาติ MICE Outlook สัปดาห์นี้ เราจะขอพาทุกท่านมาร่วมอ่านบทความวิเคราะห์โอกาส และความท้าทายของประเทศไทยหากได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาระดับโลกอย่าง “ฟอร์มูล่าวัน” ก้าวสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการจัดงานอีเวนต์ และการแข่งขันกีฬาระดับโลก
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลายเป็นเครื่องมือทรงพลังที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และอุตสาหกรรมชั้นนำต่างนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่นเดียวกับบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX ที่มุ่งมั่นนำ AI มาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ